วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


สาระสำคัญ
                การตรวจสอบคุณภาพและการรักษาชิ้นงาน  เป็นขบวนการที่สำคัญประการหนึ่ง  ซึ่งผู้ให้บริการและผู้รับบริการจำเป็นต้องทำการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณภาพของงาน  ทั้งในด้านวัสดุ  อุปกรณ์  รูปแบบ  เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตชิ้นงานให้ตรงกับความต้องการของผู้รับบริการและวัตถุประสงค์ของงาน           
สาระการเรียนรู้
1.       การตรวจสอบคุณภาพ
2.       การรักษาชิ้นงาน
ผลการเรียนรู้
1.       เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพและการรักษาชิ้นงาน
2.       มีทักษะในการตรวจสอบคุณภาพและการรักษาชิ้นงาน
จุดประสงค์การเรียนรู้
1.       บอกความหมายของการตรวจสอบคุณภาพและการรักษาชิ้นงาน
2.       บอกองค์ประกอบในการการตรวจสอบคุณภาพได้
3.       ตรวจสอบคุณภาพและการรักษาชิ้นงานได้
4.       เห็นคุณค่าของการรักษาชิ้นงาน
การตรวจสอบคุณภาพ
1.1ความหมายของการตรวจสอบคุณภาพ
คุณภาพ  หมายถึง  คุณลักษณะอันพึงประสงค์และตรงกับความต้องการของ
ผู้รับบริการ  ตามข้อกำหนดที่ตกลงหรือกำหนดไว้
การตรวจสอบคุณภาพ  หมายถึง   การกำหนดหรือการควบคุมวัสดุ  อุปกรณ์ให้
ผลงานตรงกับความต้องการของผู้รับบริการ  ตามข้อกำหนดที่ตกลงไว้
1.2  ลักษณะของการตรวจสอบคุณภาพ
การตรวจสอบคุณภาพของงานแบ่ง เป็น 3  ลักษณะ  คือ
1. คุณภาพตามหน้าที่  หมายถึง   พิจารณาจากสถานที่ที่ทำการตกแต่งโดยใช้ผ้าเป็นวัสดุใน
การประดับตกแต่ง  มีความสวยงามเหมาะสมกับการจัดงานในโอกาสต่างๆ เช่น  การจัดตกแต่ง
ซุ้ม  โต๊ะอาหาร  เวที ฯลฯ สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและประหยัดเวลา
2.  คุณภาพตามลักษณะภายนอก  พิจารณาจากชิ้นงานที่มีรูปแบบและองค์ประกอบของ
งาน  เช่น  ลวดลาย  สีสัน  เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของงาน  มีโครงสร้างที่แข็งแรง ทนทาน
3.  คุณภาพการให้บริการ  พิจารณาจากความพึงพอใจของผู้รับบริการ ในด้านการเลือกใช้
วัสดุ อุปกรณ์  การใช้สีในการตกแต่งตามหลักองค์ประกอบศิลป์  การให้บริการตามคำแนะนำ
ของผู้รับบริการ ในราคาที่ยุติธรรม
1.3  การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณภาพ
                                การตรวจสอบคุณภาพนั้น  เป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ผู้ให้บริการ
ต้องทำความตกลงกับผู้รับบริการเกี่ยวกับคุณภาพของชิ้นงานที่ผู้รับบริการต้องการ  ตลอดจน
คุณภาพของวัสดุ อุปกณ์ที่ใช้  เพื่อเป็นแนวทางในการตรวจสอบคุณภาพของงานให้ถูกต้อง
                                การตรวจสอบคุณภาพจะดำเนินการตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
  โดยพิจารณาผลงานจากองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้
1.       รูปแบบของชิ้นงาน  โดยพิจารณาจากแบบความประณีต  ความสวยงาม 
ความเหมาะสมของการเลือกใช้สี
2.       วัสดุ  อุปกรณ์  พิจารณาคุณภาพของวัสดุ  อุปกรณ์  ที่ใช้ในกับข้อตกลงใน
ใบสั่งจ้าง  หรือใบรับงาน
3.       การส่งมอบงาน  เวลาในการส่งมอบงานควรเป็นไปตามข้อตกลงที่กำหนดไว้
1.4  ประโยชน์การตรวจสอบคุณภาพ
                การตรวจสอบคุณภาพทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและตรงตามมาตรฐาน
ของงาน  เพื่อสร้างแรงจูงใจและตอบสนองความต้องการ  ทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการทำงานน้อยลง  ซึ่งจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นจากผู้รับบริการในการสั่งจ้างทำงาน
                ในการพัฒนาการตรวจสอบคุณภาพ  ผู้ให้บริการต้องใส่ใจในเรื่องของการ
ตรวจสอบคุณภาพและการดูแลคุณภาพของการให้บริการ  ตั้งแต่ขั้นตอนการรับงาน และการปฏิบัติงาน  ตลอดจนความพึงพอใจของลูกค้า  การปฏิบัติงานควรมีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน  ผู้ปฏิบัติงานจะต้องรับผิดชอบคุณภาพของการปฏิบัติงาน  ตามขั้นตอนการปฏิบัติงานทุกครั้ง

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ 1
1.  การตรวจสอบคุณภาพ
1.  ให้บอกความหมายของคุณภาพ.........................................................................................
                2.  ให้บอกความหมายของการตรวจสอบคุณภาพ         ............................................................
                3.  ท่านคิดว่าการตรวจสอบคุณภาพช่วยให้ชิ้นงานของท่านมีคุณภาพได้อย่างไร.................. 
2.  การรักษาชิ้นงาน
1.1    ความหมายของการรักษาชิ้นงาน  หมายถึง.....................................................................
2.2  รูปแบบของการรักษาชิ้นงาน
1..........................................................................................................................................
2..........................................................................................................................................
2.3  ประโยชน์ของการรักษาชิ้นงาน
1..................................................................................................................................... 2......................................................................................................................................

 2.  การรักษาชิ้นงาน
         1.  การรักษาชิ้นงาน  หมายถึง    การดูแล  รักษา วัสดุ อุปกรณ์  วัสดุโครงสร้างและผลการปฏิบัติงาน  ให้อยู่ในสภาพที่คงทนและพร้อมใช้งาน  โดยชิ้นงานต้องอยู่ในสภาพตรงตามความต้องการของผู้รับบริการ
                2.  รูปแบบของการรักษาชิ้นงาน  คือ  การดูแล รักษาและรักษาสภาพของงาน  แบ่งเป็น 2 แบบ  
                3.  การรักษาชิ้นงานก่อนการปฏิบัติงาน  หมายถึง  ลำดับ ขั้นตอนในการเตรียมวัสดุ อุปกรณ์และจำนวนโต๊ะ เก้าอี้  ให้เพียงพอกับจำนวนคน  โดยกำหนดรูปแบบของงาน  จากการศึกษาสถานที่จริง  กำหนดจำนวนผ้าที่ใช้ในการผูกผ้าและจับจีบผ้าให้เพียงพอกับปริมาณพื้นที่ ในการจัดตกแต่งสถานที่
               4.  การรักษาชิ้นงานหลังจากการปฏิบัติงาน  ได้แก่  การทำความสะอาด ซัก รีด และการกำจัดรอยเปื้อน  การจัดระเบียบโดยการแยกประเภทของผ้าที่ใช้ในการผูกผ้า  ถ้าเป็นผ้าม้วน  ควรม้วนเก็บและห่อเพื่อป้องกันรอยเปื้อนและแยกสีเพื่อสะดวกต่อการหยิบใช้ในการปฏิบัติงานครั้งต่อไป  ส่วนผ้าที่ใช้ในการจับจีบควรแยกไว้เป็นชนิดๆ เช่น  กระโปรงสำเร็จรูป ผ้าปูบนและผ้าที่ใช้ในการตกแต่งแยกออกจากกัน การคัดเลือก เข็มหมุด เป็ก ลวด ที่เสื่อมสภาพจากการใช้งาน
ประโยชน์ของการรักษาชิ้นงาน 
 ช่วยยืดอายุการใช้งาน  ประหยัดเวลาในการปฏิบัติงานและการใช้ทรัพยากรได้คุ้มค่ากับการลงทุน
                1.  ลดค่าใช้จ่าย  เช่น  วัสดุ  ผ้า  พลาสติก  เข็มหมุดและลวด
                2.  ลดค่าใช้จ่ายภายนอก  เช่น  การโฆษณา  ประชาสัมพันธ์
                3.  ผลงานการกำหนดราคาและมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของผู้รับบริการ
                4.  สามารถขยายตลาดในการจัดตกแต่งสถานที่ด้านการผูกผ้าและจับจีบ  เช่น รับงานจากสถานประกอบการ  เช่น  โรงแรม สโมสร วัด
                5.  สร้างความเชื่อถือในผลงาน  การจัดตกแต่งสถานที่ด้วยการผูกผ้าและจับจีบผ้า
                6.  ทำให้บรรยากาศในการปฏิบัติงานดีขึ้น
                7.  สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงานในการปฏิบัติงานที่ดีขึ้น  ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น